กองบังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
หลักหลายรูปแบบมิจฉาชีพออนไลน์ ที่เรารับมือได้
#แจ้งความออนไลน์ #fintips #เคล็ดลับการเงิน #Lifestyle
#cyberfraud #ติดตามเงินคืน #อายัดบัญชีม้า
รับเฉพาะคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
รูปแบบการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ วิธีรับมือกับรูปแบบมิจฉาชีพออนไลน์ต่าง ๆ
เราอยู่ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว แต่ความสะดวกสบายอาจกลายเป็นดาบสองคม และเป็นช่องโหว่ให้เหล่ามิจฉาชีพ พบช่องทางในการหลอกลวง
โดยที่มิจฉาชีพมีพัฒนาการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยเช่นกัน ด้วยการสร้างกลโกงหลากหลายรูปแบบ เพื่อหลอกลวงทรัพย์สิน และข้อมูลส่วนตัวของเรา มาทำความรู้จักกับ
5 รูปแบบมิจฉาชีพออนไลน์ต่อไปนี้ และวิธีการรับมือเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์ได้
เงินกู้ทิพย์ เงินกู้ออนไลน์ที่ไม่มีจริง
คนที่กำลังมองหาแหล่งเงินกู้ ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาต ต้องทำการตรวจสอบให้ดี เพราะมิจฉาชีพมีการแอบอ้างเป็นผู้ให้บริการเงินกู้ในรูปแบบผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank)
แล้วมาหลอกลวงเงินจากคุณได้ โดยใช้วิธีการหลอกล่อจนหลงเชื่อ เช่น ปล่อยกู้ง่าย อนุมัติเร็ว ดอกเบี้ยต่ำ ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน ไม่ต้องใช้เอกสาร
หรือติดแบล็กลิสต์ก็กู้ได้ โดยช่องทางที่ใช้ติดต่อ คือ โทรศัพท์ ข้อความ (SMS) แอปฯ เงินกู้ โซเชียลมีเดียยอดนิยมต่าง ๆ
วิธีการรับมือ : ก่อนที่จะตัดสินใจกู้ เช็กสักนิดครับว่าเป็นผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) ที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่ https://www.bot.or.th/Thai/
ConsumerInfo/Fraud/Pages/BOTLicensedLoan.aspx ก็จะช่วยป้องกันได้ในเบื้องต้น หรือกู้กับธนาคารโดยตรง
ลงทุนทิพย์ หลอกให้ลงทุนผลตอบแทนสูงที่ไม่มีจริง
อีกรูปแบบหนึ่งของกลโกงการหลอกลวงของมิจฉาชีพออนไลน์ คือ การหลอกให้ลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนสูงเกินจริง โดยจะมาในรูปแบบทั้งที่เป็นบุคคลและบริษั
ท (ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย) การหลอกลวงมาจากการตั้ง โซเชียลมีเดียยอดนิยม กลุ่มนักลงทุนเพื่อชี้นำการลงทุน แชร์ลูกโซ่
ซึ่งการลงทุนมีทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์ สกุลเงินต่างประเทศ และเงินดิจิทัล
วิธีการรับมือ : หากชื่อบัญชีธนาคารที่ให้ร่วมลงทุนเป็นบัญชีบุคคล แสดงว่ามีโอกาสโดนหลอกสูง ควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือก่อนลงทุน
สามารถเช็กรายชื่อบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตได้ที่ www.sec.or.th
Romance Scam / Hybrid Scam ปลอมโปรไฟล์หลอกให้หลงรัก
Romance Scam หรือ Hybrid Scam คือรูปแบบการหลอกลวงให้รัก หยอดคำหวาน พูดคุย ตีสนิท จีบผ่านทางออนไลน์ ช่องทางโซเชียลมีเดีย เช่น
การแชทส่วนตัว เมื่อเหยื่อหลงเชื่อ หรือถึงขั้นหลงรักก็จะมีวิธีการหลอกล่อให้โอนเงิน เช่น ญาติป่วยแต่ยังเบิกเงินประกันไม่ได้
จะมาแต่งงานด้วยแต่ต้องชำระค่าภาษีก่อน หรือเป็นนักธุรกิจจะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และต้องการผู้ร่วมลงทุนด้วย โดยมิจฉาชีพพวกนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 7-30 วันเพื่อหลอกให้เหยื่อตายใจ
วิธีการรับมือ : เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของมิจฉาชีพออนไลน์ Romance Scam จะดูที่ไลฟ์สไตล์ผ่านทางโซเชียลมีเดีย
จึงไม่ควรโพสต์เปิดเผยให้ตามรอย (Digital Footprint) ได้ ไม่ควรบอกสถานภาพและสถานะการเงินลงในโซเชียล เพราะมิจฉาชีพมักเล็งไปที่สาวโสด สูงวัย
แม่ค้าออนไลน์ ส่งลิงก์ปลอม หลอกเอาข้อมูลส่วนตัวโอนเงิน
ช่องทางที่ถูกหลอกลวงง่ายเป็นอันดับต้น ๆ คงต้องยกให้การซื้อขายสินค้าออนไลน์ เช่น โอนเงินไปแล้วติดต่อแม่ค้าไม่ได้ ปิดร้านหนี
เปลี่ยนชื่อร้านใหม่ จ่ายเงินแล้วแต่ไม่ได้รับของแถม หรือ ส่งลิงก์ปลอมหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจสั่งซื้อ
ควรตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อน เพราะถ้ายิ่งเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงยิ่งเป็นอันตราย
วิธีการรับมือ : นอกจากการซื้อสินค้าจากร้านค้าที่เป็นทางการแล้ว ก็ต้องช่างสังเกตสักนิดนะครับ หากร้านค้าขายสินค้าราคาถูกกว่าร้านอื่นเป็นพิเศษ
ก็เริ่มน่าสงสัยแล้ว หรือใช้รูปของร้านอื่น มีคำพูดเร่งเร้าให้รีบโอนเงิน ขาดการรีวิวสินค้า เปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์บ่อย ๆ
รวมทั้งเปลี่ยนบัญชีแจ้งโอนก็เข้าข่ายต้องสงสัยแล้ว